วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญา
ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญา
หมายถึง สิทธิทางกฎหมายที่ให้เจ้าของสิทธิ หรือ "ผู้ทรงสิทธิ" มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ โดยอาจแบ่งทรัพย์สินทางปัญญาออกได้ 2 ประเภทหลัก คือ (1)ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมและ (2)ลิขสิทธิ์ สำหรับทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมยังแบ่งออกได้อีก 5 ประเภท ได้แก่ (1)สิทธิบัตร (2) อนุสิทธิบัตร (3) เครื่องหมายการค้า (4) ความลับทางการค้า และ (5)สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (6)แบบผังภูมิของวงจรรวม (7)คุ้มครองพันธุ์พืช (8)ภูมิปัญญาท้องถิ่น

สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจัดเป็นคนละสิทธิหรือการเป็นเจ้าของในสิ่งที่เป็นผลผลิตทางทรัพย์สินทางปัญญานั้น เช่น ลิขสิทธิ์ในหนังสือจะไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกันกับความเป็นเจ้าของหนังสือซึ่งจับต้องได้ สิทธิบัตรในเรื่องอิเล็กทรอนิกส์จะแยกต่างหากจากความเป็นเจ้าของเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น เจ้าของหนังสือหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ จึงมีกรรมสิทธิ์ในการใช้หรือจัดการทรัพย์นั้นตามความประสงค์ แต่ไม่สามารถทำการใด ๆ ซึ่งละเมิดต่อสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์นั้น เช่น เจ้าของหนังสือจะไม่สามารถทำหนังสือขึ้นมาจำหน่ายเองโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของลิขสิทธิ์ เนื่องจากสิทธิในการทำซ้ำเป็นสิทธิทางกฎหมายแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์นั้น หรือผู้ซื้อซอร์ฟแวร์จะเป็นเจ้าของสินค้านี้เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อ แต่จะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำซอร์ฟแวร์นั้นขึ้นมาจำหน่ายเอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิก่อนเท่านั้น

ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม โดยอาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม

ลิขสิทธิ์
หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปทำเช่นว่านั้นด้วย

สิทธิบัตร
หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบว่าด้วยสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบ เพื่อให้ได้สิ่งของ,เครื่องใช้หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การประดิษฐ์รถยนต์, โทรทัศน์, คอมพิวเตอร์, โทรศัพท์ หรือการออกแบบขวดบรรจุน้ำดื่ม, ขวดบรรจุน้ำอัดลม หรือการออกแบบลวดลายบนจานข้าว, ถ้วยกาแฟ ไม่ให้เหมือนของคนอื่น เป็นต้น

เครื่องหมายการค้า
หมายถึง ตราสินค้าหรือส่วนหนึ่งของตราสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น เจ้าของมีสิทธิตามกฎหมายเพียงผู้เดียว เราไม่สามารถใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นและบุคคลอื่นก็ไม่สามารถใช้เครื่องหมายการค้าของเราได้ เว้นแต่จะมีสัญญาและข้อตกลงต่อกัน (เช่นการควบกิจการ) สัญลักษณ์อาจจะประกอบไปด้วย ชื่อ ข้อความ วลี สัญลักษณ์ ภาพ งานออกแบบ หรือหลายส่วนร่วมกัน โดยมีความหมายทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องหมายแสดงถึง ชื่อสินค้าเฉพาะอย่าง หรือทุกประเภทในเครื่องหมายการค้าจะเป็นการแสดงภาพเครื่องหมาย ชื่อ ตราสัญลักษณ์เพื่อแสดงถึง อ้างถึง มีความหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ตามที่มีความเกี่ยวข้องกัน

เครื่องหมายการค้าอาจมีการกำกับด้วย ™ หมายถึงเครื่องหมายการค้าที่มิได้จดทะเบียน หรือ ® หมายถึงเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน เป็นสัญลักษณ์สากล

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
ในปัจจุบันการก่ออาชญากรรมในสังคมมีแนวโน้มว่ากำลังจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันที่เป็นตัวผลักดันผู้คนที่อาศัยอยู่ในสังคมส่วนหนึ่งนั้นคิดทำการก่ออาชญากรรม ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ในสังคมเท่านั้น แต่ยังกระจายวงกว้างครอบคลุมระบบคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่กำลังได้รับความนิยมและถือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 จึงเป็นบทกฎหมายที่สำคัญในการควบคุมดูแล กำหนดความผิดและโทษ เกี่ยวกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งครอบคลุมทั้งในส่วนของประชาชนผู้ใช้งาน ผู้ให้บริการ และพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

ในหลายปีที่ผ่านมา การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ได้แพร่กระจายและมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อปัญหาในหลายด้านทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ เมื่อตัวบทกฎหมายที่ใช้ในการตัดสินบทลงโทษการกระทำความผิดและการก่ออาชญากรรมนั้นไม่รองรับการกระทำความผิดและการก่ออาชญากรรมบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ ดังนั้นกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีทีและผู้เกี่ยวข้อง จึงได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ และในปีพ.ศ. 2541 คณะรัฐมนตรีจึงได้ลงมติเห็นชอบให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติดำเนินการโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ และในวันที่ 18 มิถุนายน 2550 จึงได้มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอน 27 ก หน้า 4-13 และท้ายที่สุดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ก็มีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 นั้นมีความเป็นมาและความสำคัญที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีตัวบทกฎหมายที่น่าสนใจและสามารถรองรับการกระทำความผิดและก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ค่อนข้างครอบคลุมและทั่วถึง โดยพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 หมวดด้วยกัน ได้แก่ หมวด 1 ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และหมวด 2 พนักงานเจ้าที่ โดยจะกล่าวถึงและอธิบายลงลึกถึงใจความสำคัญในหัวข้อต่อๆไป ได้แก่

1. ความเป็นมาของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

กล่าวถึงเหตุผลสำคัญๆที่ทำให้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับนี้ถือกำเนิดขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่าง ยกตัวอย่างเช่น ตัวบทกฎหมายในปัจจุบันไม่รองรับการกระทำความผิดบนโลกไซเบอร์ อาชญากรรมในยุคเทคโนโลยีในปัจจุบันไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงในสังคมหรือบนท้องถนนทั่วๆไป แต่ยังเกิดขึ้นบนโลกเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วอีกด้วย เจตนารมณ์ในการร่างพ.ร.บ. ฉบับนี้ เช่น เพื่อกำหนดบทลงโทษ อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานและแนวทางหรือข้อปฏิบัติของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต และผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อมีการนำพ.ร.บ. ฉบับนี้ออกมาใช้ เป็นต้น

2. สถิติเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กำลังเจริญก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ดังนั้นผู้ไม่หวังดีหรือผู้ที่จ้องฉวยโอกาสก็จะมีช่องทางในการที่จะกระทำความผิดเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน หากเราศึกษาหรือเรียนรู้เกี่ยวกับสถิติหรือแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นของจำนวนอาชญากรรมเอาไว้ จะทำให้เราตระหนักถึงอันตรายและความเสี่ยงของอาชญากรรมเหล่านี้และมีความระมัดระวังเพิ่มมากยิ่งขึ้น

3. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 หมวด 1 ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์แบ่งออกได้เป็น 2 หมวด ได้แก่ หมวด 1 ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และ หมวด 2 พนักงานเจ้าหน้าที่ โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หมวด 1 โดยในหมวดนี้จะประกอบไปด้วยมาตราตั้งแต่ มาตราที่ 5 ถึงมาตราที่ 17 พร้อมทั้งบทกำหนดโทษ

4. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 หมวด 2 พนักงานเจ้าหน้าที่

โดยกล่าวถึงพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ในหมวดที่ 2 ซึ่งเกี่ยวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยในหมวดนี้จะประกอบไปด้วยมาตราตั้งแต่ มาตราที่ 18 ไปจนถึงมาตราที่ 30 พร้อมทั้งบทกำหนดโทษ

5. วิธีปฏิบัติเพื่อป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

เนื่องจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นั้นนับวันจะยิ่งแพร่กระจายและมีเทคนิคหรือวิธีการในการหลอกลวงใหม่ๆเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นในบทความนี้จะยกตัวอย่างอาชญากรรมและข้อเสนอแนะหรือข้อควรปฏิบัติเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย ไม่ถูกรบกวนหรือสูญเสียทรัพย์สินจากการถูกแฮกเกอร์หรือมิจฉาชีพบนโลกอินเทอร์เน็ตหลอกลวง เช่น เสนอแนะข้อแนะนำในการป้องกันตนเองหรือวิธีหลบเลี่ยงจากโปรแกรมโทรจัน การป้องกันตนเองและข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญจากมิจฉาชีพที่ปลอมแปลงเป็นบุคคลอื่นเพื่อโจรกรรมข้อมูลของเรา เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย

ทันภัยการใช้ Internet

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภััย

กฎของการแชท

ไม่สามารถเชื่อได้ว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นคนอย่างที่เค้าพูด
อย่าให้ชื่อจริง ควรใช้ชื่อสมมุติ
อย่าให้ข้อมูลว่าคุณอยู่ทีไหน หมายเลขโทรศัพท์ (โทรศัพท์มือถือ) เรียนอยู่ที่ไหน พ่อแม่เป็นใคร
ทำความเข้าใจให้ชัดเจนถึงกฎของแต่ละห้องแชท ที่จะเข้าไปเล่น
ให้จำไว้ว่าคุณอาจเป็นบุคคลนิรนามในอินเทอร์เน็ต แต่บ่อยครั้งที่คนอื่นสามารถสืบเสาะได้ว่าใครเป็นคนใส่ข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ดังนั้น ต้องมีความสุภาพกับผู้อื่นเสมอ


กฎของการแชท การสื่อสารทางออนไลน์
ไม่ออกไปพบกับบุคคลที่พบ รู้จักสื่อสารผ่านทางออนไลน์
ถ้ารู้สึกถูกกดดัน จากการสื่อสารออนไลน์กับใคร ให้ปรึกษากับผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบ
ให้ชื่ออีเมลกับเพื่อนที่รู้จักดี ไม่ควรให้กับคนแปลกหน้า
ปรึกษา หารือกับผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบเสมอ อย่าให้ถูกหลอกล่อ หรือถูกกดดันเพื่อไปพบเจอกับคนที่รู้จักออนไลน์
หากถูกใครหรือสิ่งใดรบกวนในห้องแชท ให้รีบออกจากการสนทนา และอย่าติดต่อ สนทนาอีก







วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

บริการต่างๆในอินเตอร์เน็ต

บริการต่างๆในอินเตอร์เน็ต

1. Search Engine (บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต)
Search Engine เป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือในการที่จะค้นหาเว็บไซต์ต่าง ๆ มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ ตัวเองโดยอัตโนมัติ เช่น Google.com หรือ Altavista.com ซึ่งเครื่องมือนี้ มีชื่อเรียกว่า Search Robot จะทำหน้าที่คอยวิ่งเข้าไปอ่านข้อความจากหน้าเว็บไซต์ ของเว็บต่าง ๆ แล้วนำมาจัดลำดับคำค้นหา (Index) ที่มีในเว็บไซต์เหล่านั้น เก็บไว้ในฐานข้อมูลของตนเอง เมื่อเราเข้าไปใช้บริการ 
กับ Search Engine 


2. ไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ (Electronic Mail หรือ E-Mail)
เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เนตที่คนนิยมใช้กันมากคือส่งจดหมายโดยทางคอมพิวเตอร์ถึงผู้ที่มีบัญชีอินเตอร์เน็ต ด้วยกันไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลคนละซีกโลกจดหมายก็จะไปถึงอย่างสะดวกรวดเร็วและง่ายดายโปรแกรมที่ใช้ ได้แก่Hotmail , YahooMail , ThaiMail และยังมี Mail ต่าง ๆ ที่ให้บริการอย่างมากมายในปัจจุบัน ตามหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ