ทรัพย์สินทางปัญญา
ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญา
หมายถึง สิทธิทางกฎหมายที่ให้เจ้าของสิทธิ หรือ "ผู้ทรงสิทธิ" มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ โดยอาจแบ่งทรัพย์สินทางปัญญาออกได้ 2 ประเภทหลัก คือ (1)ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมและ (2)ลิขสิทธิ์ สำหรับทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมยังแบ่งออกได้อีก 5 ประเภท ได้แก่ (1)สิทธิบัตร (2) อนุสิทธิบัตร (3) เครื่องหมายการค้า (4) ความลับทางการค้า และ (5)สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (6)แบบผังภูมิของวงจรรวม (7)คุ้มครองพันธุ์พืช (8)ภูมิปัญญาท้องถิ่นสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจัดเป็นคนละสิทธิหรือการเป็นเจ้าของในสิ่งที่เป็นผลผลิตทางทรัพย์สินทางปัญญานั้น เช่น ลิขสิทธิ์ในหนังสือจะไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกันกับความเป็นเจ้าของหนังสือซึ่งจับต้องได้ สิทธิบัตรในเรื่องอิเล็กทรอนิกส์จะแยกต่างหากจากความเป็นเจ้าของเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น เจ้าของหนังสือหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ จึงมีกรรมสิทธิ์ในการใช้หรือจัดการทรัพย์นั้นตามความประสงค์ แต่ไม่สามารถทำการใด ๆ ซึ่งละเมิดต่อสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์นั้น เช่น เจ้าของหนังสือจะไม่สามารถทำหนังสือขึ้นมาจำหน่ายเองโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของลิขสิทธิ์ เนื่องจากสิทธิในการทำซ้ำเป็นสิทธิทางกฎหมายแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์นั้น หรือผู้ซื้อซอร์ฟแวร์จะเป็นเจ้าของสินค้านี้เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อ แต่จะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำซอร์ฟแวร์นั้นขึ้นมาจำหน่ายเอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิก่อนเท่านั้น
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม โดยอาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
ลิขสิทธิ์
หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปทำเช่นว่านั้นด้วย
สิทธิบัตร
หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบว่าด้วยสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบ เพื่อให้ได้สิ่งของ,เครื่องใช้หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การประดิษฐ์รถยนต์, โทรทัศน์, คอมพิวเตอร์, โทรศัพท์ หรือการออกแบบขวดบรรจุน้ำดื่ม, ขวดบรรจุน้ำอัดลม หรือการออกแบบลวดลายบนจานข้าว, ถ้วยกาแฟ ไม่ให้เหมือนของคนอื่น เป็นต้น
เครื่องหมายการค้า
หมายถึง ตราสินค้าหรือส่วนหนึ่งของตราสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น เจ้าของมีสิทธิตามกฎหมายเพียงผู้เดียว เราไม่สามารถใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นและบุคคลอื่นก็ไม่สามารถใช้เครื่องหมายการค้าของเราได้ เว้นแต่จะมีสัญญาและข้อตกลงต่อกัน (เช่นการควบกิจการ) สัญลักษณ์อาจจะประกอบไปด้วย ชื่อ ข้อความ วลี สัญลักษณ์ ภาพ งานออกแบบ หรือหลายส่วนร่วมกัน โดยมีความหมายทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องหมายแสดงถึง ชื่อสินค้าเฉพาะอย่าง หรือทุกประเภทในเครื่องหมายการค้าจะเป็นการแสดงภาพเครื่องหมาย ชื่อ ตราสัญลักษณ์เพื่อแสดงถึง อ้างถึง มีความหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ตามที่มีความเกี่ยวข้องกันเครื่องหมายการค้าอาจมีการกำกับด้วย ™ หมายถึงเครื่องหมายการค้าที่มิได้จดทะเบียน หรือ ® หมายถึงเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน เป็นสัญลักษณ์สากล
พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
ในปัจจุบันการก่ออาชญากรรมในสังคมมีแนวโน้มว่ากำลังจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันที่เป็นตัวผลักดันผู้คนที่อาศัยอยู่ในสังคมส่วนหนึ่งนั้นคิดทำการก่ออาชญากรรม ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ในสังคมเท่านั้น แต่ยังกระจายวงกว้างครอบคลุมระบบคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่กำลังได้รับความนิยมและถือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 จึงเป็นบทกฎหมายที่สำคัญในการควบคุมดูแล กำหนดความผิดและโทษ เกี่ยวกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งครอบคลุมทั้งในส่วนของประชาชนผู้ใช้งาน ผู้ให้บริการ และพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในหลายปีที่ผ่านมา การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ได้แพร่กระจายและมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อปัญหาในหลายด้านทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ เมื่อตัวบทกฎหมายที่ใช้ในการตัดสินบทลงโทษการกระทำความผิดและการก่ออาชญากรรมนั้นไม่รองรับการกระทำความผิดและการก่ออาชญากรรมบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ ดังนั้นกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีทีและผู้เกี่ยวข้อง จึงได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ และในปีพ.ศ. 2541 คณะรัฐมนตรีจึงได้ลงมติเห็นชอบให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติดำเนินการโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ และในวันที่ 18 มิถุนายน 2550 จึงได้มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอน 27 ก หน้า 4-13 และท้ายที่สุดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ก็มีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 นั้นมีความเป็นมาและความสำคัญที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีตัวบทกฎหมายที่น่าสนใจและสามารถรองรับการกระทำความผิดและก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ค่อนข้างครอบคลุมและทั่วถึง โดยพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 หมวดด้วยกัน ได้แก่ หมวด 1 ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และหมวด 2 พนักงานเจ้าที่ โดยจะกล่าวถึงและอธิบายลงลึกถึงใจความสำคัญในหัวข้อต่อๆไป ได้แก่
1. ความเป็นมาของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
กล่าวถึงเหตุผลสำคัญๆที่ทำให้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับนี้ถือกำเนิดขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่าง ยกตัวอย่างเช่น ตัวบทกฎหมายในปัจจุบันไม่รองรับการกระทำความผิดบนโลกไซเบอร์ อาชญากรรมในยุคเทคโนโลยีในปัจจุบันไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงในสังคมหรือบนท้องถนนทั่วๆไป แต่ยังเกิดขึ้นบนโลกเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วอีกด้วย เจตนารมณ์ในการร่างพ.ร.บ. ฉบับนี้ เช่น เพื่อกำหนดบทลงโทษ อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานและแนวทางหรือข้อปฏิบัติของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต และผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อมีการนำพ.ร.บ. ฉบับนี้ออกมาใช้ เป็นต้น
2. สถิติเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กำลังเจริญก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ดังนั้นผู้ไม่หวังดีหรือผู้ที่จ้องฉวยโอกาสก็จะมีช่องทางในการที่จะกระทำความผิดเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน หากเราศึกษาหรือเรียนรู้เกี่ยวกับสถิติหรือแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นของจำนวนอาชญากรรมเอาไว้ จะทำให้เราตระหนักถึงอันตรายและความเสี่ยงของอาชญากรรมเหล่านี้และมีความระมัดระวังเพิ่มมากยิ่งขึ้น
3. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 หมวด 1 ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์แบ่งออกได้เป็น 2 หมวด ได้แก่ หมวด 1 ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และ หมวด 2 พนักงานเจ้าหน้าที่ โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หมวด 1 โดยในหมวดนี้จะประกอบไปด้วยมาตราตั้งแต่ มาตราที่ 5 ถึงมาตราที่ 17 พร้อมทั้งบทกำหนดโทษ
4. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 หมวด 2 พนักงานเจ้าหน้าที่
โดยกล่าวถึงพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ในหมวดที่ 2 ซึ่งเกี่ยวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยในหมวดนี้จะประกอบไปด้วยมาตราตั้งแต่ มาตราที่ 18 ไปจนถึงมาตราที่ 30 พร้อมทั้งบทกำหนดโทษ
5. วิธีปฏิบัติเพื่อป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
เนื่องจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นั้นนับวันจะยิ่งแพร่กระจายและมีเทคนิคหรือวิธีการในการหลอกลวงใหม่ๆเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นในบทความนี้จะยกตัวอย่างอาชญากรรมและข้อเสนอแนะหรือข้อควรปฏิบัติเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย ไม่ถูกรบกวนหรือสูญเสียทรัพย์สินจากการถูกแฮกเกอร์หรือมิจฉาชีพบนโลกอินเทอร์เน็ตหลอกลวง เช่น เสนอแนะข้อแนะนำในการป้องกันตนเองหรือวิธีหลบเลี่ยงจากโปรแกรมโทรจัน การป้องกันตนเองและข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญจากมิจฉาชีพที่ปลอมแปลงเป็นบุคคลอื่นเพื่อโจรกรรมข้อมูลของเรา เป็นต้น